วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Have และ Have got

Have และ Have got

ในความหมายว่า "มี" หรือ "เป็นเจ้าของ" 
ซึ่งเรามักพบว่าจะใช้ have got มากกว่า have เพียงคำเดียว
(แต่สำหรับผม มักใช้ have คำเดียวมากกว่า)

ดังนั้นเราอาจพูดว่า

We've got a new car. = We have a new car.
เรามีรถคันใหม่ หรือ เราได้รถคันใหม่

Ann has got two sisters = Ann has two sisters.
แอนมีน้องสาว 2 คน

ซึ่งเราสามารถใช้กับชื่อโรคหรืออาการเจ็บป่วยได้
เช่น
I've got a headache. = I got a headache.
ฉัน(มีอาการ)ปวดหัว

[ ในกรณี Have ให้ถือว่า have เป็น กริยาแท้ 
ดังนั้น ถ้าจะให้อยู่ในรูปอื่น (ปฏิเสธ,คำถาม)
ให้ใช้ กริยาช่วย V to do

แต่ในกรณี Have got หรือ Has got
ให้ถือว่า V to have เป็นกริยาช่วยไปเล้ยคร้าบบบบ ]

เราจะเปลี่ยนเป็นประโยคปฏิเสธ ดังนี้

I(you, we, they) haven't got any money.
I haven't any money. (ไม่นิยม)
I don't have any money.
ฉันไม่มีเงิน(ซักกะบาทเดียว)

She (he, it) hasn't got a car.
She hasn't a car. (ไม่นิยม)
She does'nt have a car.
หล่อนหาได้มีรถยนต์ไม่

และสามารถเปลี่ยนเป็นประโยคคำถามได้ดังนี้

Have you got any money?
Have you any money? (ไม่นิยม)
Do you have any money?
คุณมีตังค์(สักบาท)ป่าว??

Has she go a car?
Has she a car?(ไม่นิยม)
Does she have a car?
แม่นางผู้นั้นมีรถยนต์หรือไม่

เมื่อ have ใช้ในความหมายว่า "มี" หรือ "เป็นเจ้าของ"
ห้ามใช้ในรูป continuous (is having/ are having)


I have / I've got a headache (ไม่ใช้ I'm having a headache.)

ในรูปอดีต (past tense) ให้ใช้ had โดยไม่มี got

Ann had long [ไม่ใช้ had got] fair hair when she was a child.


ในขณะที่ประโยคคำถาม และปฏิเสธ ที่เป็นอดีต ให้ใช้ did/didn't

Did they have a car when they were living in London.

I didn't have a watch, so I didn't know the time.

Ann had long fair hair, didn't she?

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ขึ้นต้นด้วย H คำใดออกเสียง H บ้าง


ที่เห็นในภาพ เป็นสมุนไพรมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อสูง ใช้บรรเทาอาการเสีอดในท้อง อุจจาระร่วง หลอดลมอักเสบ โรคหืด และโลหิตจาง หรือเลือดน้อย มีไวตามิน บี-คอมเพล็กซ์ และซี  มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า thyme

แต่ทราบหรือปล่าวครับ ว่า ออกเสียงว่า ไทม์ (เสียง ท ทหาร เหมือน Toy )  

หรือ ไธม์ (เสียงสอดลิ้นระหว่างฟัน เหมือน Thing)



คนอังกฤษบางคนไม่สามาถรออกเสียงพยัญชนะ h ที่เริ่มต้นคำได้
คนพวกนี้จะพูดคำว่า 'elp, 'old, 'appiness และอื่นๆ 

เรื่องนี้เป็นวิธีการพูกที่สืบทอดกันมาช้านานนับตั้งแต่เริ่มมีภาษาอังกฤษ
และเพิ่งจะมีการแนะนำให้ประชาชนทั่วไปออกเสียงพยัญชนะ h
ที่เป็นอักษรนำเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 นี้เอง 

เมื่อนักวิชาการ และอาจารย์สอนภาษาพยายามที่จะทำให้การออกเสียง
สอดคล้องกับการสะกดยิ่งขึ้น 
เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีคำถามว่า "เราจะถือว่าคนอังกฤษที่ยังคงไม่ยอมออกเสียง h
เป็นคนที่ออกเสียงไม่กูต้องหรือไม่" ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้แตกต่างกันออกไป

แต่สำหรับคนอเมริกันมักจะออกเสียง h ที่ขึ้นต้นคำแทบทุกคำ 
แต่มีบางคำที่ยกเว้นไม่ควรออกเสียงเด็ดขาด
และถ้าจะถามว่า "แล้วมีกฏข้อใดหรือไม่ที่กำหนดว่าเมื่อใด ควรหรือไม่ควรออกเสียง h" 
คำตอบคือ "ไม่มี"

อย่างไรก็ตาม เพื่อช่วยคุณแก้ปัญหาเรื่องเสียง h 
รายการข้างล่างนี้จะเป็นประโยชน์มาก

7 คำต่อไปนี้ ต้องออกเสียง H เสมอ

Homage (ความเคารพ), Huge (มหึมา)
Human (มนุษย์), Humane (มนุษยธรรม, เมตตา)
Humble (นอบน้อม),
Humor (อารมณ์ขัน), Humorous (น่าขบขัน)


10 คำต่อไปนี้ จะไม่มีการออกเสียง H ในวงเล็บเลย

(h)eir (ทายาท)  อ่านว่า แอร์
(h)onest (ซื่อสัตย์)
 อ่านว่า ออน เนสท์
(h)onor (เกียรติยศ) 
 อ่านว่า ออน เนอร์
(h)our (ชั่วโมง) 
อ่านว่า อาวร์
pro(h)ibition (คำสั่งห้าม) 
อ่านว่า โพร อึ บิ ชั่น

shep(h)erd (คนเลี้ยงแกะ) 
อ่านว่า เชพ เพิด
T(h)ailand (ประเทศไทย) 
อ่านว่า ไท แลนด์
t(h)yme (สมุนไพรชนิดหนึ่ง)
อ่านว่า  ไทม์
ve(h)ement (รุนแรง)  
อ่านว่า เว อึ เมนต์
ve(h)icle (ยานพาหนะ)
 อ่านว่า เว อึ เคิล


มีข้อสังเกตจาก 10 รายการล่างหรือปล่าวครับ
ว่ามีอยู่ 1 คำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่
เดี๋ยวจะบอกครับว่าทำไม 

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

เนื้อเพลงนกขมิ้น

เนื้อเพลงนกขมิ้น ver. ดงผู้ดี

(ดาวน์โหลด

ค่ำคืนฉันยืนอยู่เดียวดาย 
เหลียวมองรอบกายมิวายจะหวาดกลัว 
มอง นภามืดมัว สลัวเย็นย่ำ ค่ำคืนเอ๋ย ฮืม 
ยามนภาคล้ำไป ใกล้ค่ำ ยินเสียงร่ำคำบอก 
เจ้าช่อไม้ดอกเอ๋ย 
เจ้าดอก ขจร นก ขมิ้นเหลืองอ่อน 
ค่ำแล้วจะนอนไหนเอย เอ๋ยเล่า นกเอย 

อกฉัน ทุกวันเฝ้าอาวรณ์ เหมือนคนพเนจร 
ฉันนอนไม่หลับเลย หนาว พระพายที่พัดเชย 
อกเอ๋ยหนาวสั่น สุดบั่นทอน ฮืม 
ยามนี้เราหลงทาง กลางค่ำ ยินเสียงร่ำ คำบอก 
เจ้าช่อไม้ดอกเอ๋ย 
เจ้าดอก ขจร ฉันร่อนเร่ พเนจร 
ไม่รู้จะนอนไหนเอย เอ๋ยโอ้ หัวอกเอย

(เพิ่มเติม)

บ้านใด หรือใครจะเอ็นดู 
รับรอง อุ้มชู เลี้ยงดูให้หลับนอน 
นก ขมิ้น เหลืองอ่อน 
ค่ำไหน นอนนั่น อกฉัน หมอง ฮืม 
ทนระกำช้ำใจ ยามค่ำ ยินเสียงร่ำ น้ำตก 

โอ้หัวอกเอ๋ย 
โอ้อก อาวรณ์ ฉันไร้คู่ ร่วมคอน 
ต้องฝืนนอน หนาว เอย เอ๋ย โอ้ หัวอกเอย 
เมื่อ มอง หมายปองก็แลเห็ฯ 
หวิวในใจเต้น เหมือนเป็นเพียงแต่มอง 
เหมือน พบรัง จะครอง แต่หมองเกรงที่ หวั่นจะมีเจ้าของ ฮืม 

ฟังสำเนียงเสียงเพลง ครวญคร่ำ 
ใครหนอร่ำ คำบอก 
เจ้าช่อไม้ดอกเอ๋ย 
เจ้าดอกขจร นก ขมิ้น เหลืองอ่อน 
ค่ำนี้ จะนอนไหนเอย เอ๋ย นอน ที่นี่ เอย


วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

เนื้อเพลง Deep

เนื้อเพลง Deep ของ  Binocular

ดาวน์โหลด Deep (kewlshare, Ziddu) เพลงเพราะๆ เหมือนว่าจะโฆษณาอะไรซักอย่างจำไม่ได้ละ

So this is what you mean 

And this is how you feel 
So this is how you see 
And this is how you breathe 
Sometimes 
I know 
Sometimes 
I go down deep 
Oh 

So this is what you mean 
And this is how you feel 
So this how you see 
And this is how you breathe 

Sometimes 
I know 
Sometimes 
I go down deep 
Oh 

Beneath the deep blue sea 
Touching every breath 
All a slight off hand 
For everything you left 

Sometimes 
I know 
Sometimes 
I go down deep 
Oh 

Sometimes 
I give myself for you 
Sometimes 
I know down deep

เพลงที่เคยโพสต์

the House of Healing   อีกอัน(Ziddu)     อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเพลงนี้ ี้ที่นี่

นกขมิ้น ver. ดงผู้ดี  อีกอัน(Ziddu)

OST. Memoirs of a Geisha

    Going to School    อีกอัน(Ziddu)

    Sayuri Theme and Credit End

Northgate เพลงประกอบการพยากรณ์อากาศทาง modern nine TV

Deep (kewlshare, Ziddu) เพลงเพราะๆ เหมือนว่าจะโฆษณาอะไรซักอย่างจำไม่ได้ละ

OST. Yi SAN  ลีซาน มหาบุรุษผลิกแผ่นดิน ช่อง 3

      เพลงจบ (Kewlshare, Ziddu)

Unwritten เพลงประกอบโฆษณา แพนทีน (Kewlshare)

   

มาเริ่มแจกเพลงกันดีกว่า

วันนี้มาแนวแปลกขอแจกเพลงก่อนละกันครับ

ชื่อเพลง  The Houses of Healing (คลิกเพื่อดาวน์โหลด)

เป็นเพลงประกอบภาพยนต์ Lord of the rings: the return of the king

ซึ่งเป็นภาคจบของภาพยนต์ไตรภาคเรื่องนี้ที่ผมว่าทุกคนไม่พลาดที่จะได้ชมกันในโรงภาพยนต์

แต่เดี๋ยวก่อน

เพลงนี้ ไม่ได้ถูกฉายในโรงภาพยนต์

ซึ่งตรงกับฉากที่ ชนะศึกที่ Minas Tirith (เมืองแห่งราชันย์ เมืองสีขาว 9 ชั้น) แล้ว ฉบับในโรงภาพยนตจะตัดไปตอนที่ Sam  สู้กับ แมงมุมยักษ์ แล้ว Frodo ก็ถูกจับไปยังหอคอย Cirith Ungul

แต่ในฉบับเต็ม เมื่อเสร็จศึกที่ Minas Tirith แล้ว Eowyn ซึ่งได้รับบาดเจ็บจากการเข้าไปช่วยกษัตริย์แห่งโรฮัน

นางได้ถูกนำตัวเข้าไปรักษาที่โรงรักษา (The Houses of Healing)

แล้วพระเอกของเรา Aragon ก็เข้ามาปลอบโยนนาง ประหนึ่งนางเป็น อาร์เวน คู่รักเอล์ฟหูยาวเมื่อ เอโอวีนหายจากอาการบาดเจ็บจึงได้พบรักกับ ฟาราเมียร์ ที่เกือบโดนพ่อตัวเองเผาทั้งเป็น

แล้วทั้งสองคนก็รักกัน ไปตามระเบียบ

เพลงนี้ ขับร้องโดย Liv Tyler ลูกสาวของศิลปินปากกว้าง  Steven Tyler 

ประพันธ์เพลงโดย Philippa Boyens หนึ่งในผู้กำกับและแปลงบทภาพยนต์ 

ประพันธ์ดนตรีโดย Howard Shore ผู้ประพันธ์เพลงทั้งหมดของภาพยนต์ไตรภาคนี้

เสียงของลิฟไพเราะชวนฝัน แต่สำหรับคนที่ไม่ชอบเพลงคลาสสิค

อาจจะตกหลุมรักเพลงคลาสสิคเหมือนผมเพราะเพลงนี้ก็อาจเป็นได้

เกือบลืมเนื้อเพลงเอาไว้หัดฮัมเพลงตามไป

With a sigh,
You turn away,
With a deepening heart,
No more words to say,
You will find,
That the world has changed,
Forever.

And the trees are now ,
Turning from green to gold,
And the sun in now fading,
I wish I could hold you,
Closer.

วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2552

AM- (ตอนที่ 2)

amorous

มาจาก am- กับปัจจัย -ous (ซึ่งเต็มไปด้วย, ซึ่งโน้มเอียงไปทาง, ซึ่งมี, ซึ่งเหมือนกับ)

คำว่า amorous หมายถึง "มีแนวโน้มจะตกหลุมรัก, แสดงว่ารัก, มีความรัก"

He has a very amorous nature.
เขามีนิสัยชอบตกหลุมรักได้ง่าย


ประโยคนี้ amatory แทน amorous ได้ เพราะทั้งสองคำแปลว่า "ซึ่งแสดงความรัก"

enamored

มาจากอุปสรรคละติน en- (ทำเป็น, ทำให้เป็น) กับธาตุ am- 

และปัจจัย -ed ซึ่งทำให้คำนี้เป็นรูป past participle เมื่อใช้กับ to be 
คำนี้จะเป็นคำคุณศัพท์ to be enamored หมายถึง "รัก, หลงรัก, หลงเสน่ห์"

The boy is enamored of the girl next door.

หนุ่มคนนั้นหลงรักสาวข้างบ้าน

วันนี้จัดไปแรง ๆ สองตอนรวด  แต่ตัดท่อนไม่เท่ากันต้องขออภัย

ถ้าท่านผู้อ่านอยากทราบอะไรเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ ก็ลองถามมานะครับ

เดี๋ยวจะหาคำตอบมาให้ตามความสามารถ

กลัวว่าจะเบื่อรากศัพท์กันซะก่อน เพราะว่ารากพวกนี้บางคำเราก็ไม่เคยได้ยิน หรือได้ใช้เป็นประจำ

ดังนั้นถ้าอยากทราบเรื่องอะไร ลองถามมานะครับ อาจจะหาคำตอบมาให้ได้บ้างแต่ไม่รับปากครับ

อ้อ ขอบคุณ Mr. Davin Zeta ที่สมัครเป็นผู้ติดตามบอร์ดนะครับ

เดี๋ยวบทหน้าจะเปลี่ยนบรรยากาศมาฟังเพลงนอกกระแสดูบ้าง

รากศัพท์(ธาตุ) AM- (ตอนที่ 1)


am-

ในภาษาละตินแปลว่า "รัก" (to love) ศัพท์น่ารู้ซึ่งสร้างจากธาตุ am- ได้แก่

amateur, amatory, amiable, amicable, enamored.

amatuer 
มาจากธาตุ am และปัจจัยภาษาฝรั่งเศสว่า -ateur (ผู้ซึ่ง)
amateur จึงแปลว่า "ผู้กระทำการใด ๆ เพราะใจรักมากกว่าหวังเงิน, 
ผู้ที่ประกอบกิจกรรมด้านศิลปะ กีฬา หรือวิทยาศาสตร์ เพื่อความเพลิดเพลินใจ มากกว่าเป็นอาชีพ"

The painted was a gifted amateur.
จิตรกรผู้นั้นเป็นมือสมัครเล่นที่มีพรสวรรค์


Some amateur golfers are as good as profressionals.
นักกอล์ฟมือสมัครเล่นบางคนฝีมือดี พอ ๆ กับมืออาชีพ


จะเห็นว่า ameatuer มีความหมายในทางบวก หมายถึง ทำสิ่งนั้นเพราะใจรัก อาจเก่ง หรือมีพรสวรรค์ 
แต่ศัพท์ที่ได้จากคำว่า amateur ได้แก่ 
amateurish และ amateurishly 
กลับมีความหมายว่า มีฝีมือระดับมือสมัครเล่น และ ทำอะไรแบบมือสมัครเล่น ตามลำดับ
ซึ่งมีความหมายค่อนไปทางลบ คือ ผู้ที่ด้อยฝีมือ หรือยังไม่เก่งในเรื่องนั้น ๆ

amatory 
มาจากธาตุ am- และปัจจัยภาษาละตินว่า -ory (ซึ่งสัมพันธ์กับ, ซึ่งเหมือน, ซึ่งคล้าย)
 คำว่า amatory จึงหมายถึง "ซึ่งเกี่ยวกับรัก, ซึ่งแสดงถึงความรัก"

The girl gave im an amatory glance.
สาวคนนั้นชำเลืองมองเขาด้วยสายดาแสดงความรัก (=ทำตาเล็กตาน้อย แลดูกรุ้มกริ่ม ว่างั้น อิอิ)


amiable
มาจากธาตุ am และ ปัจจัยละติน -able (ซึ่งสามารถจะ,ซึ่งควรค่าแก่) 
คำว่า amiable (ซึ่งสามารถรักได้, ซึ่งสามารถมีเมตตาหรือเป็นมิตร) จึงหมายถึง "ใจดี, เป็นมิตร"

He is an amiable person.
เขาเป็นผู้มีอัธยาศัยดี


The two friends had an amiable disagreement.
เพื่อนสองคนนั้นมีเรื่องขัดแย้งกันฉันมิตร

 ศัพท์ที่มาจาก aniable คือ aniability - ความเป็นมิตร

the amiability ot their rivalry impressed us.
ความเป็นมิตรท่ามกลางการชิงดีชิงเด่นของพวกเขาประทับใจเรา



amicable 
มาจากคำละติน amicus - เพื่อน ซึ่งมาจากธาตุ
am-ใช้ในความหมาย "ฉันเพื่อน" ใช้กับคู่กรณีประนีปประนอมกัน
เมื่อมีเรื่องขัดแย้งกัน

The lawyer arramged an amicable settlement of the lawsuit.
ทนายความจัดให้มีการประนีปประนอมคดีความที่ฟ้องร้องกัน


 ศัพท์ที่มาจาก anicable คือ anicably - เยี่ยงมิตร, ด้วยสันติวิธี

 และ amicability-ความเป็นมิตร,ความสงบสุข


They ended their partnership amicably.
พวกเขาเลิกเป็นหุ้นส่วนกันอย่างเป็นมิตร


The amicability of their parting was remarkable.

การเเยกทางกันด้วยความเป็นมิตรของพวกเขานั้นน่าทึ่ง

เดี๋ยวกลับมาต่อกัน

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552

AUT-, AUTO- (ต่อ ตอนจบ)

automatic มาจากธาตุ auto- และธาตุกรีก matic -(ซึ่งกำลังเคลื่อนไหว) คำว่า

automatic จึงเเปลว่า "ซึ่งเคลือนไหวด้วยตนเอง,ซึ่งควบคุมด้วยตัวเอง,อัตโนมัติ"

เช่น

The clothes dryer is automatic.

เครื่องปั่นผ้าเเห้งทำงานอัตโนมัติ

ศัพท์ที่ได้จาก automatic คือ

automat -เครื่องขายอาหารอัตโนมัติ ซื้ได้โดยหยอดเหรียญ และอาหารที่ช่องรับ

และ

automation -การผลิตโดยอัตโนมมมัติ เช่น โรงงานซึ่งอาศัยเเรงเครื่องจักร

with increased automation, workers will need to work fewer hours

มื่อมีการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติมากขึ้น คนงานก็ย่อมจะต้องทำงานน้อยชั่วโมงลง


automobile มาจากธาตุกรีก auto-และคำภาษาละตินว่า mobile (ซึ่งเคลื่อนไหว)

คำว่า automobile จึงหมายถึง "ยานซึ่งขับเคลื่อนหรือเคลื่อนที่ได้เอง,ยานยนต์,รถยนต์" 

เอาล่ะครับ  ถือว่าจบคำที่มาจากรากศัพท์ หรือ ธาตุ Aut-, Auto- อย่างสมบูรณ์

ในบทต่อไปจะขอเสนอ คำที่ได้จาดธาตุ AM- โปรดติดตามนะครับ

วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552

AUT-, AUTO- (ต่อ1)

autocrat

มาจากธาตุ auto-และธาตุกรีก -crat (การปกครอง, อำนาจ) autocrat จึง

หมายถึง "ผู้ปกครองซึ่งทรงอำนาจไร้ขีดจำกัด"ซึ่งก็เท่ากับ
"บุคคลผู้เป็นเผด็จการ"

Grandfather was g uitean autocrat at the dinner table
คุณปู่ทำตัวเป็นเผด็จการน่าดูที่เดียวตอนอาหารค่ำ


ศัพท์ที่ได้จาก autocrat คือ autocracy-
1.การปกครองโดยผู้เผด็จการ 2. รัฐที่ปกครองโดยระบอบอัตตาธิปไตย

เช่น
Under Hadrian, Rome was an autocrat.
ในสมัยของจักรพรรดิเฮเดรียน โรมเป็นรัฐที่ปกครองด้วยระบอบอัตตาธิปไตย  


autograph

มาจากธาตุ auto- และธาตุกรีก -graph (สิ่งที่เขียนไว้) 

ดังนั้นคำว่า autograph จึงแปลว่า "ลายเซน หรือ ลายมือของตัวเอง"

คำกริยา to autograph จึงหมายถึง "เซ็นชื่อของตัวเอง" หรือ "เขียนด้วยลายมือของตัวเอง"

ลายเซ็นของ Albert Einstein


เช่น
She stood in line to get the singer's autograph.
หล่อนยืนเข้าแถวรอเพื่อขอลายเซนจากนักร้องผู้นั้น


The singer autograhed the program for her.
นักร้องผู้นั้นเซ็นชื่อลงในสูจิบัตรการแสดงให้แก่หล่อน


ศัพท์ที่ได้จาก autograph คือ 

autography แปลว่า "การเขียนเอกสารด้วยลายมือของตัวเอง"

ตอนนี้ก็ยังเหลืออีก 2 คำศัพท์ 

ถ้าผู้อ่านต้องการเพิ่มเติม หรือติติงตรงไหนก็ Comment มาได้นะครับ ยินดีรับฟังครับ

รากคัพท์ AUT-, AUTO-

ในบทที่แล้ว เราได้ทราบรากศัพท์ SAL-
ลองมาทบทวนกันว่าเราได้คำศัพท์จาก รากศัพท์ "SAL-" อะไรกันบ้าง

SALary ---> Salary ---> เงินเดือน
SALads ---> Salads ---> สลัด(ผัก)
SALami ---> Salami ---> เนื้อใส่เครื่องเทศและเกลือ
SALine ---> Saline ---> สารละลายเกลือ, น้ำเกลือ

เอาล่ะครับวันนี้ผมจะเสนอรากศัพท์

"AUT-, AUTO-"


AUT- หรือ AUTO- เป็นรากศัพท์ที่มาจากภาษากรีก
(ภาษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา 
เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์
และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ )http://th.wikipedia.org/wiki/ภาษากรีก


แปลว่า

"ตัวเอง, ตนเอง, อัต-, อัตตะ" หรือ Self 


ธาตุตัวนี้ใช้ประกอบคำภาษาอังกฤษหลายคำเเละมักเเปลว่า
"ตัวเอง,ตนเอง" เเต่บางครั้งเราอาจต้องวิเคราะห์คำให้ดี

เพื่อดูว่าธาตุนี้ประกอบอยู่ในลักษณะใด

ศัพท์น่ารู้ที่ประกอบด้วยธาตุ auto- คือ autocrat,autograph,

automatic,automobile.

รอสักครู่ เดี่ยวจะมาอธิบายเกี่ยวกับคำศัพท์เหล่านี้ครับ

เรื่องน่ารู้ 

เมื่อตอนเีรียนปรัชญา ตอนนั้นอยู่ปี 3 อาจารย์ปรัชญาจากคณะมนุษย์ เล่าเกี่ยวกับ

ภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ว่า ภาษากลุ่มนี้

จะมีการออกเสียงในภาษาอังกฤษคล้าย ๆ กับ ภาษาบาลี-สัณสกฤต ที่ใช้ในภาษาไทย เช่น

Auto ตรงกับ อัตตะ แปลว่า ตัวตน

Mortal ตรงกับ มตะ (อ่านว่า มะ-ตะ) แปลว่า ตาย

ดังนั้น อมตะ จึงตรงกับอะไรครับ

------------------------------->

Immortal ยังไงครับ

  


วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2552

รากศัพท์ (บทที่ 1) SAL

รากศัพท์ (บทที่ 1)
การศึกษารากศัพท์ จะเป็นการสร้างเสริมให้เรามีความสามารถสร้างคลังศัพท์ให้เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และง่ายดายที่สุดในบทนี้ ผมจะเล่าถึงรากศัพท์ หรือที่ในหนังสือที่ผมอ่านเรียกว่า "ธาตุ"


"Salary"

มีใครไม่รู้จักคำนี้บ้าง........คำนี้แปล่ว่า "เงินเดือน"ครับ




Salary มีรากศัพท์มาจากคำว่า SAL-
SAL- เป็นรากศัพท์ที่มาจากภาษาละตินโน้น.......แปลว่า "เกลือ" หรือ salt นั่นเอง

(ภาษาละติน: Latin - ลาติน เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนต้นกำเนิดในเขตบริเวณโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ภาษาละตินในปัจจุบัน มีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญพันธุ์ อย่างไรก็ตามอักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก)http://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาละติน


"แล้วเกลือ" มาเกี่ยวอะไรกับ "เงินเดือน" ?????!!!!
ก็เพราะว่าสมัยโรมันน่ะ เหล่าทหารทั้งหลายเค้าได้จะได้รับเบี้ยเลี้ยงพิเศษเพื่อซื้อเกลือใช้เอง

ถ้าเป็นสมัยนี้ ถ้าทหารได้เงินไปซื้อเกลือ ไม่รู้ ทหารจะเอาเงินไปซื้อเกลือจริงป่าว แฮ่ะ ๆๆ

มีสำนวนว่า " He's not worth his own salt"
ไม่ได้แปลว่า "เขาไม่มีค่าเท่าเกลือของเขาเอง" นะครับแต่หมายถึง "เขาทำงานไม่คุ้มค่าจ้าง"ต่ะหาก


ลองมาดูคำอื่นที่เกี่ยวกับ SAL- บ้างเช่น

SALads---> Salads ก็สลัดผักไงครับ ใส่เกลือด้วย

SALami---> Salami ก็เนื้อชนิดที่ใส่เครื่องเทศและเกลือมาก ๆยังไงล่ะครับ

และสุดท้าย นักเคมี เรียกน้ำเค็ม ดินเค็ม และสารละลายที่มีเกลือว่าSALine---> Saline (ซึ่งมีเกลือ)

ถ้าในทางการแพทย์ ภาษาไทยเรียกว่า "น้ำกลือ" คร้าบบบ....
เห็นมั๊ยครับว่า แค่รากศัพท์ว่า "SAL-" คำเดียวเราก็สามารถสร้างรากศัพท์ได้เยอะแยะ

เป็นยังไงครับคิดว่ายากเกินไปหรือปล่าวครับถ้าไงก็ขอขอความเห็นด้วยนะครับ

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

สวัสดีทุกคน

ศุภมัสดุ แรม 1 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับ ศุกร์ที่ 10 เมษายน 2552 เวลา 16:45 นาที  ก็เป็นฤกษ์งามยามดีในการเปิดบล็อกใหม่ของกระผม

ต้องขอบอกก่อนว่า กระผมเองก็ไม่ได้จบเอกวิชาภาษาอังกฤษ  หรือว่า มีความเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ

แต่ที่เปิดบล็อกนี้ ก็เพื่อ อยากให้ท่านผู้อ่านได้ทราบรายละเอียด เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของภาษา  

ซึ่งเป็นข้อสังเกต ที่ได้จากประสบการณ์การอ่าน หรือเคยได้ยินได้ฟังมาบ้าง

ทั้งนี้ก็จะขออ้างอิงตามแหล่งที่กระผมได้ศึกษามาลงไว้ให้ ท่าน ๆ ทราบ จะได้ไม่มีข้อสงสัยว่า

"เอ๊ะ! เจงป่ะแว้ ??? $#&!"

โปรดติดตามบทเริ่มต้นนะครับ